รูป

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เครื่องหมายของสมาคม



ข้อบังคับ หมวดที่ 1 ความทั่วไป

     ข้อที่ 1. สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมศิษย์เก่า โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม” ใช้ชื่อว่า “ส.ศ.พ.พ.”
     ข้อที่ 2. เครื่องหมายของสมาคม
     ข้อที่ 3. สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ที่ โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม เลขที่118 หมู่ที่1 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อาคาร3 ชั้น1 ห้องราชพฤกษ์
     ข้อที่ 4. วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนและให้ความร่วมมือการจัดกิจกรรมทางด้านการศึกษาในโรงเรียนพรานกระต่าย
4.2 สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกและกรรมการในการประกอบกิจกรรมทางด้านการศึกษาเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
4.3 ส่งเสริมความสามัคคี ระหว่างศิษย์เก่า ครูและผู้ปกครอง
4.4 ทำการวิจัยแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในทางวิชาการตลอดจนข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของสมาคม
4.5 เป็นศูนย์กลางการประสานงานและร่วมมือกับบุคคลขงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริการศึกษา
4.6 ส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษาในโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
4.7 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด
4.8 ไม่จัดโต๊ะบิลเลียด และสนุ๊กเกอร์
4.9 เพื่อสนองเจตนารมณ์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และฉบับที่2 แก้ไข (ปรับปรุง) พ.ศ.2545
4.10 ส่งเสริมสวัสดิการของสมาชิก

ข้อบังคับ หมวดที่ 2 สมาชิก

     ข้อที่ 5. สมาชิกสมาคมมี 2 ประเภท คือ สมาชิกสามัญ และสมาชิกกิตติมศักดิ์
             5.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ ศิษย์เก่าของโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
             5.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติหรือผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอุปการะคุณหรือบุคคลผู้มีความรู้และปะสบการณ์ในด้านการศึกษาซึ่งคณะกรรมการมีมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิก
             5.3 สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
                          5.3.1 เคยศึกษาที่โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคมอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
                          5.3.2 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือมิฉะนั้นต้องได้รับวามยินยอมจากผู้ปกครองก่อน
                          5.3.3 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย รักษาระเบียบวินัย
                          5.3.4 ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
                          5.3.5 ไม่เคยต้องโทษในคดีอาญาใดๆ มาก่อนเว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดโดยประมาท
                          5.3.6 ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเสพยาเสพติดให้โทษ
                          5.3.7 ไม่เคยถูกลบชื่อออกจากสมาคมหรือชมรมใดๆ เพราะเคยก่อเหตุเสื่อมเสียหรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงโดยการพิจารณาจากกรรมการในสมาคมหรือชมรมนั้นๆ
                          5.3.8 เป็นผู้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของสมาคมเป็นอย่างดี ไม่หวังหรือเรียกร้องผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ จากสมาคมนอกจากสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามข้อบังคับของสมาคม
     ข้อที่ 6. หลักฐานการสมัครเป็นสมาชิก
             6.1 สำเนาบัตรประจำประชาชน
             6.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
             6.3 รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 บาน
     ข้อที่ 7. ค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม
 สมาชิกสามัญต้องชำระค่าลงทะเบียนสมาชิก จำนวน 20 บาท และค่าบำรุงสมาคมเป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพ จำนวน 200 บาท
     ข้อที่ 8. การสมัครเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครและหลักฐานตามแบบของสมาคมโดยมีสมาคมรับรอง 1 คน และให้ติดประกาศชื่อผู้สมัครไว้ที่สำนักงานสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันเพื่อให้สมาชิกของสมาคมทราบถ้าไม่มีสมาชิกใดคัดค้านให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว
     ข้อที่ 9. เมื่อสมาคมอนุมัติการสมัครของสมาชิกแล้วให้ผู้สมัครชำระเงินค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากเลขาธิการ สมาชิกภาพของสมาชิกเริ่มนับตั้งแต่วันที่ชำระเงินค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้วถ้าผู้สมัครชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมภายในกำหนดเวลาถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก
     ข้อที่ 10. สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมาศักดิ์ ให้เริ่มรับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับหนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณามีมติให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ของสมาคม
     ข้อที่ 11. สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
             11.1 ตาย
             11.2 ลาออกโดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ติดค้างอยู่กับสมาชิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
             11.3 ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกข้อหนึ่งหรือทุกข้อ
             11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบช่อออกจากทะเบียน เพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม
     ข้อที่ 12. สิทธิหน้าที่ของสมาชิก
             12.1 มีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคมตามวัน เวลา ที่เปิดทำการของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
             12.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการสมาคม ต่อคณะกรรมการ
             12.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
             12.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
             12.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมาคม และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุม ได้คนละ 1 คะแนนเสียง
             12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
             12.7 มีสิทธิเข้าชื่อกันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดที่มีอยู่ขณะนั้นร้องขอต่อคณะกรรมการให้ดำเนินการจัดการประชุมใหญ่วิสามัญได้
             12.8 มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อระเบียบและข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
             12.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
             12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและการดำเนินกิจการของสมาคม
             12.11 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดขึ้น
             12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
             12.13 มีสิทธิประดับตราเครื่องหมายของสมาคม

ข้อบังคับ หมวดที่ 3 การดำเนินกิจการของสมาคม

     ข้อ 13. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คนแต่ไม่เกิน 15 คน คณะกรรมการนี้ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม และให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกันเองเป็นนายกสมาคม 1 คน และอุปนายกสมาคม 3 คน ส่วนตำแหน่งกรรมการสมาคมในตำแหน่งอื่นๆ ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ของสมาคมตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งตำแหน่งกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้
          13.1 นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจกรรมของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และทำหนาที่เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
          13.2 อุปนายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการของสมาคม ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกมอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำแทน
          13.3 เลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคม เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสาคมตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขาธิการในการประชุมต่างๆของสมาคม
          13.4 เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายบัญชีงบดุล และเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
          13.5 ปฏิคม มีหน้าที่ให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆของสมาคม
          13.6 นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนต่างๆของสาคม ประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสาคมจากสมาชิก
          13.7 ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิก และบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
          13.8 จัดหารายได้ มีหน้าที่ระดมทรัพยากรเพื่อการดำเนินกิจการขอสมาคม
          13.9 สวัสดิการสมาคม มีหน้าที่ให้การสนับสนุน การปฏิบัติงานต่างๆ และจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก ที่ไม่ขัดต่อข้อบังคับของสมาชิก
          13.10 วิชาการ มีหน้าที่ทำการวิจัยการศึกษา และสนับสนุนด้านการศึกษาของโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
          13.11 กรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้ว จะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
     ข้อที่ 14. คณะกรรมการของสมาคม มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี เมื่อคณะกรรมการดำรงตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ
     ข้อที่ 15. ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่ง แทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น และผู้ดำรงตำแหน่งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับระยะเวลาที่เหลือตามวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
     ข้อที่ 16. กรรมการจะพ้นตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
          16.1 ตาย
          16.2 ลาออก
          16.3 ขาดจากสมาชิกภาพ
          16.4 ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ออกจากตำแหน่ง
     ข้อที่ 17. กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อหน้าคณะกรรมการและให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติให้ออก
     ข้อที่ 18. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
          18.1 มีอำนาจออกระเบียบต่างๆเพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตาม โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
          18.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
          18.3 มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการได้ แต่คณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
          18.4 มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีและประชุมใหญ่วิสามัญ
          18.5 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
          18.6 มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมดรวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
          18.7 มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภาใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
          18.8 มีหน้าที่จัดทำเอกสารต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรมต่างๆของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถให้สมาชิกตรวจสอบได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
          18.9 จัดทำบันทึกการประชุมขงสมาคมเก็บไว้เป็นหลักฐานและให้สมาชิกรับทราบ
          18.10 มีหน้าที่อื่นๆตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
     ข้อที่ 19. คณะกรรมการจะต้องจัดประชมกันอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
     ข้อที่ 20. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
     ข้อที่ 21. ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุมคราวนั้น

ข้อบังคับ หมวดที่ 4 การประชุมใหญ่

     ข้อที่ 22. การประชุมใหญ่ของสมาคมมี 2 ประเภท คือ
             22.1 การประชุมใหญ่สามัญ
             22.2 การประชุมใหญ่วิสามัญ
     ข้อที่ 23. คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกๆปี
     ข้อที่ 24. การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ ให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวันเวลา และสถานที่ให้ชัดเจนและจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน รวมทั้งต้องปิดประกาศแจ้งกกำหนดการประชุมใหญ่ไว้ ณ. สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุม
     ข้อที่ 25. การประชุมใหญ่วิสามัญอาจมีขึ้นโดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น
     ข้อที่ 26. การประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
             26.1 แถลงการณ์ดำเนินกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
             26.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
             26.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดวาระ
             26.4 แต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
             26.5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
     ข้อที่ 27. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมแล้วมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้เรียกสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยถือจำนวนสมาชิกที่มาประชุมครั้งนี้ว่าครบองค์ประชุม แต่ต้องไม่เกิน 45 วันนับตั้งแต่วันนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี
     ข้อที่ 28. การลงมติในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติเท่ากันให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
     ข้อที่ 29. ในการประชุมใหญ่ของสมาคมฯ ถ้านายกสมาคมฯ และอุปนายกของสมาคมฯ ไม่มาประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนี้

ข้อบังคับ หมวดที่ 5 การเงินและทรัพย์สิน

     ข้อที่ 30. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบขงคณะกรรมการ เงินสดของสมาคมถ้ามีให้ นำฝากไว้ในธนาคารใดธนาคารหนึ่ง ในนามของสมาคม
     ข้อที่ 31. การลงนามในตั๋วแลกเงินหรือเช็ค ของสมาคมจะต้องมีรายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน ลงนามร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขาธิการพร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้การได้
     ข้อที่ 32. ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท  (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ในเวลา 1 วัน ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องได้รับอนุมัติจากมติคณะกรรมการ
     ข้อที่ 33. ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันที เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายกหรืออุปนายกสมาคมแล้วแต่กรณี
     ข้อที่ 34. เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามระเบียบ การรับหรือจ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อขงนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน ร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
     ข้อที่ 35. ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
     ข้อที่ 36. ผู้ตรวจสบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สิน จากคณะกรรมการ และสามารถเชิญคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สินของสมาคมได้
     ข้อที่ 37. คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีเมื่อได้รับการร้องขอ

ข้อบังคับ หมวดที่ 6 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับและการเลิกสมาคม

     ข้อที่ 38. ข้อบังคับของสมาคมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่เท่านั้น และองค์ประชุมใหญ่จะต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด มติของที่ประชุมใหญ่สามัญในการให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับจะต้องมี คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด
     ข้อที่ 39. การเลิกสมาคมจะเลิกได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่ ยกเว้นเป็นการเลิกเพราะเหตุของกฎหมาย มติของที่ประชุมใหญ่ที่เลิกสมาคมจะต้องมี คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมทั้งหมด และองค์ประชุมใหญ่จะต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกสามัญที่เข้าร่วม
     ข้อที่ 40. เมื่อสมาคมต้องเลิกไม่ว่าด้วยเหตุใดๆก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากที่ได้ชำระบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตกเป็นของโรงเรียนรานกระต่ายพิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร

ข้อบังคับ หมวดที่ 7 บทเฉพาะกาล

     ข้อที่ 41. ข้อบังคับฉบับนี้ให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเป็นต้นไป
     ข้อที่ 42. เมื่อสมาคมได้อนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจากทางราชการแล้ว ให้ถือว่าผู้เริ่มก่อการเป็นสมาชิกสามัญ และสมาชิกภาพของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเริ่มตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป
     ข้อที่ 43. ให้คณะกรรมการผู้เริ่มก่อตั้งสมาคมฯ อยู่ในวาระได้ไม่เกิน 1 ปี