สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ข้อบังคับ หมวดที่ 1 ความทั่วไป
ข้อที่ 1. สมาคมนี้มีชื่อว่า “สมาคมศิษย์เก่า โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม” ใช้ชื่อว่า “ส.ศ.พ.พ.”
ข้อที่ 2. เครื่องหมายของสมาคม
ข้อที่ 2. เครื่องหมายของสมาคม
ข้อที่ 3. สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ที่ โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม เลขที่118 หมู่ที่1 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อาคาร3 ชั้น1 ห้องราชพฤกษ์
ข้อที่ 4. วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
ข้อที่ 4. วัตถุประสงค์ของสมาคม เพื่อ
4.1 ส่งเสริมและสนับสนุนและให้ความร่วมมือการจัดกิจกรรมทางด้านการศึกษาในโรงเรียนพรานกระต่าย
4.2 สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกและกรรมการในการประกอบกิจกรรมทางด้านการศึกษาเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
4.3 ส่งเสริมความสามัคคี ระหว่างศิษย์เก่า ครูและผู้ปกครอง
4.4 ทำการวิจัยแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในทางวิชาการตลอดจนข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของสมาคม
4.5 เป็นศูนย์กลางการประสานงานและร่วมมือกับบุคคลขงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริการศึกษา
4.6 ส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษาในโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
4.7 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด
4.8 ไม่จัดโต๊ะบิลเลียด และสนุ๊กเกอร์
4.9 เพื่อสนองเจตนารมณ์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และฉบับที่2 แก้ไข (ปรับปรุง) พ.ศ.2545
4.10 ส่งเสริมสวัสดิการของสมาชิก
4.2 สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกและกรรมการในการประกอบกิจกรรมทางด้านการศึกษาเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
4.3 ส่งเสริมความสามัคคี ระหว่างศิษย์เก่า ครูและผู้ปกครอง
4.4 ทำการวิจัยแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในทางวิชาการตลอดจนข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมของสมาคม
4.5 เป็นศูนย์กลางการประสานงานและร่วมมือกับบุคคลขงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริการศึกษา
4.6 ส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษาในโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
4.7 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองแต่อย่างใด
4.8 ไม่จัดโต๊ะบิลเลียด และสนุ๊กเกอร์
4.9 เพื่อสนองเจตนารมณ์ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และฉบับที่2 แก้ไข (ปรับปรุง) พ.ศ.2545
4.10 ส่งเสริมสวัสดิการของสมาชิก
ข้อบังคับ หมวดที่ 2 สมาชิก
ข้อที่ 5. สมาชิกสมาคมมี 2 ประเภท คือ สมาชิกสามัญ และสมาชิกกิตติมศักดิ์
5.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ ศิษย์เก่าของโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
5.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติหรือผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอุปการะคุณหรือบุคคลผู้มีความรู้และปะสบการณ์ในด้านการศึกษาซึ่งคณะกรรมการมีมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิก
5.3 สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
5.3.1 เคยศึกษาที่โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคมอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
5.3.2 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือมิฉะนั้นต้องได้รับวามยินยอมจากผู้ปกครองก่อน
5.3.3 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย รักษาระเบียบวินัย
5.3.4 ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
5.3.5 ไม่เคยต้องโทษในคดีอาญาใดๆ มาก่อนเว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดโดยประมาท
5.3.6 ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเสพยาเสพติดให้โทษ
5.3.7 ไม่เคยถูกลบชื่อออกจากสมาคมหรือชมรมใดๆ เพราะเคยก่อเหตุเสื่อมเสียหรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงโดยการพิจารณาจากกรรมการในสมาคมหรือชมรมนั้นๆ
5.3.8 เป็นผู้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของสมาคมเป็นอย่างดี ไม่หวังหรือเรียกร้องผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ จากสมาคมนอกจากสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามข้อบังคับของสมาคม
ข้อที่ 6. หลักฐานการสมัครเป็นสมาชิก
6.1 สำเนาบัตรประจำประชาชน
6.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
6.3 รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 บาน
ข้อที่ 7. ค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม
สมาชิกสามัญต้องชำระค่าลงทะเบียนสมาชิก จำนวน 20 บาท และค่าบำรุงสมาคมเป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพ จำนวน 200 บาท
ข้อที่ 8. การสมัครเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครและหลักฐานตามแบบของสมาคมโดยมีสมาคมรับรอง 1 คน และให้ติดประกาศชื่อผู้สมัครไว้ที่สำนักงานสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันเพื่อให้สมาชิกของสมาคมทราบถ้าไม่มีสมาชิกใดคัดค้านให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว
ข้อที่ 9. เมื่อสมาคมอนุมัติการสมัครของสมาชิกแล้วให้ผู้สมัครชำระเงินค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากเลขาธิการ สมาชิกภาพของสมาชิกเริ่มนับตั้งแต่วันที่ชำระเงินค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้วถ้าผู้สมัครชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมภายในกำหนดเวลาถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก
ข้อที่ 10. สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมาศักดิ์ ให้เริ่มรับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับหนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณามีมติให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ของสมาคม
ข้อที่ 11. สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
11.1 ตาย
11.2 ลาออกโดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ติดค้างอยู่กับสมาชิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
11.3 ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกข้อหนึ่งหรือทุกข้อ
11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบช่อออกจากทะเบียน เพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม
ข้อที่ 12. สิทธิหน้าที่ของสมาชิก
12.1 มีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคมตามวัน เวลา ที่เปิดทำการของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
12.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการสมาคม ต่อคณะกรรมการ
12.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
12.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
12.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมาคม และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุม ได้คนละ 1 คะแนนเสียง
12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
12.7 มีสิทธิเข้าชื่อกันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดที่มีอยู่ขณะนั้นร้องขอต่อคณะกรรมการให้ดำเนินการจัดการประชุมใหญ่วิสามัญได้
12.8 มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อระเบียบและข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
12.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและการดำเนินกิจการของสมาคม
12.11 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดขึ้น
12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
12.13 มีสิทธิประดับตราเครื่องหมายของสมาคม
5.1 สมาชิกสามัญ ได้แก่ ศิษย์เก่าของโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
5.2 สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติหรือผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอุปการะคุณหรือบุคคลผู้มีความรู้และปะสบการณ์ในด้านการศึกษาซึ่งคณะกรรมการมีมติให้เชิญเข้าเป็นสมาชิก
5.3 สมาชิกจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
5.3.1 เคยศึกษาที่โรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคมอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
5.3.2 เป็นผู้บรรลุนิติภาวะแล้วหรือมิฉะนั้นต้องได้รับวามยินยอมจากผู้ปกครองก่อน
5.3.3 เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย รักษาระเบียบวินัย
5.3.4 ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
5.3.5 ไม่เคยต้องโทษในคดีอาญาใดๆ มาก่อนเว้นแต่ความผิดลหุโทษหรือความผิดโดยประมาท
5.3.6 ไม่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือเสพยาเสพติดให้โทษ
5.3.7 ไม่เคยถูกลบชื่อออกจากสมาคมหรือชมรมใดๆ เพราะเคยก่อเหตุเสื่อมเสียหรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงโดยการพิจารณาจากกรรมการในสมาคมหรือชมรมนั้นๆ
5.3.8 เป็นผู้มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของสมาคมเป็นอย่างดี ไม่หวังหรือเรียกร้องผลประโยชน์ส่วนตัวใดๆ จากสมาคมนอกจากสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามข้อบังคับของสมาคม
ข้อที่ 6. หลักฐานการสมัครเป็นสมาชิก
6.1 สำเนาบัตรประจำประชาชน
6.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
6.3 รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 บาน
ข้อที่ 7. ค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม
สมาชิกสามัญต้องชำระค่าลงทะเบียนสมาชิก จำนวน 20 บาท และค่าบำรุงสมาคมเป็นสมาชิกสามัญตลอดชีพ จำนวน 200 บาท
ข้อที่ 8. การสมัครเป็นสมาชิกของสมาคม ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครและหลักฐานตามแบบของสมาคมโดยมีสมาคมรับรอง 1 คน และให้ติดประกาศชื่อผู้สมัครไว้ที่สำนักงานสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วันเพื่อให้สมาชิกของสมาคมทราบถ้าไม่มีสมาชิกใดคัดค้านให้เลขาธิการแจ้งให้ผู้สมัครทราบโดยเร็ว
ข้อที่ 9. เมื่อสมาคมอนุมัติการสมัครของสมาชิกแล้วให้ผู้สมัครชำระเงินค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากเลขาธิการ สมาชิกภาพของสมาชิกเริ่มนับตั้งแต่วันที่ชำระเงินค่าลงทะเบียนสมาชิกและค่าบำรุงสมาคมเป็นที่เรียบร้อยแล้วถ้าผู้สมัครชำระเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสมาคมภายในกำหนดเวลาถือว่าการสมัครคราวนั้นเป็นอันยกเลิก
ข้อที่ 10. สมาชิกภาพของสมาชิกกิตติมาศักดิ์ ให้เริ่มรับตั้งแต่วันที่สมาคมได้รับหนังสือตอบรับคำเชิญของผู้ที่คณะกรรมการได้พิจารณามีมติให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ของสมาคม
ข้อที่ 11. สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
11.1 ตาย
11.2 ลาออกโดยยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการ และคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติ และสมาชิกผู้นั้นได้ชำระหนี้สินที่ติดค้างอยู่กับสมาชิกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
11.3 ขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกข้อหนึ่งหรือทุกข้อ
11.4 ที่ประชุมใหญ่ของสมาคมหรือคณะกรรมการได้พิจารณาลงมติให้ลบช่อออกจากทะเบียน เพราะสมาชิกผู้นั้นได้ประพฤตินำความเสื่อมเสียมาสู่สมาคม
ข้อที่ 12. สิทธิหน้าที่ของสมาชิก
12.1 มีสิทธิใช้สถานที่ของสมาคมตามวัน เวลา ที่เปิดทำการของสมาคมโดยเท่าเทียมกัน
12.2 มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการสมาคม ต่อคณะกรรมการ
12.3 มีสิทธิได้รับสวัสดิการต่างๆ ที่สมาคมได้จัดให้มีขึ้น
12.4 มีสิทธิเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาคม
12.5 สมาชิกสามัญมีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้ง หรือได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งเป็นกรรมการของสมาคม และมีสิทธิออกเสียงลงมติต่างๆ ในที่ประชุม ได้คนละ 1 คะแนนเสียง
12.6 มีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเอกสารและบัญชีทรัพย์สินของสมาคม
12.7 มีสิทธิเข้าชื่อกันอย่างน้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมดที่มีอยู่ขณะนั้นร้องขอต่อคณะกรรมการให้ดำเนินการจัดการประชุมใหญ่วิสามัญได้
12.8 มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อระเบียบและข้อบังคับของสมาคมโดยเคร่งครัด
12.9 มีหน้าที่ประพฤติตนให้สมกับเกียรติที่เป็นสมาชิกของสมาคม
12.10 มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและการดำเนินกิจการของสมาคม
12.11 มีหน้าที่ร่วมกิจกรรมที่สมาคมได้จัดขึ้น
12.12 มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงของสมาคมให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
12.13 มีสิทธิประดับตราเครื่องหมายของสมาคม
ข้อบังคับ หมวดที่ 3 การดำเนินกิจการของสมาคม
ข้อ 13. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการของสมาคม มีจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คนแต่ไม่เกิน 15 คน คณะกรรมการนี้ได้มาจากการเลือกตั้งของที่ประชุมใหญ่ของสมาคม และให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งกันเองเป็นนายกสมาคม 1 คน และอุปนายกสมาคม 3 คน ส่วนตำแหน่งกรรมการสมาคมในตำแหน่งอื่นๆ ให้นายกสมาคมเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ได้รับเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ของสมาคมตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งตำแหน่งกรรมการสมาคมมีตำแหน่งและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้
13.1 นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจกรรมของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และทำหนาที่เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
13.2 อุปนายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการของสมาคม ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกมอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำแทน
13.3 เลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคม เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสาคมตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขาธิการในการประชุมต่างๆของสมาคม
13.4 เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายบัญชีงบดุล และเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
13.5 ปฏิคม มีหน้าที่ให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆของสมาคม
13.6 นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนต่างๆของสาคม ประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสาคมจากสมาชิก
13.7 ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิก และบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
13.8 จัดหารายได้ มีหน้าที่ระดมทรัพยากรเพื่อการดำเนินกิจการขอสมาคม
13.9 สวัสดิการสมาคม มีหน้าที่ให้การสนับสนุน การปฏิบัติงานต่างๆ และจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก ที่ไม่ขัดต่อข้อบังคับของสมาชิก
13.10 วิชาการ มีหน้าที่ทำการวิจัยการศึกษา และสนับสนุนด้านการศึกษาของโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
13.11 กรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้ว จะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
ข้อที่ 14. คณะกรรมการของสมาคม มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี เมื่อคณะกรรมการดำรงตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ
ข้อที่ 15. ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่ง แทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น และผู้ดำรงตำแหน่งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับระยะเวลาที่เหลือตามวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
ข้อที่ 16. กรรมการจะพ้นตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
16.1 ตาย
16.2 ลาออก
16.3 ขาดจากสมาชิกภาพ
16.4 ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ออกจากตำแหน่ง
ข้อที่ 17. กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อหน้าคณะกรรมการและให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อที่ 18. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
18.1 มีอำนาจออกระเบียบต่างๆเพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตาม โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
18.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
18.3 มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการได้ แต่คณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
18.4 มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีและประชุมใหญ่วิสามัญ
18.5 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
18.6 มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมดรวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
18.7 มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภาใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
18.8 มีหน้าที่จัดทำเอกสารต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรมต่างๆของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถให้สมาชิกตรวจสอบได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
18.9 จัดทำบันทึกการประชุมขงสมาคมเก็บไว้เป็นหลักฐานและให้สมาชิกรับทราบ
18.10 มีหน้าที่อื่นๆตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
ข้อที่ 19. คณะกรรมการจะต้องจัดประชมกันอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
ข้อที่ 20. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
13.1 นายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการบริหารกิจกรรมของสมาคม เป็นผู้แทนของสมาคมในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และทำหนาที่เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการและการประชุมใหญ่ของสมาคม
13.2 อุปนายกสมาคม ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนายกสมาคมในการบริหารกิจการของสมาคม ปฏิบัติหน้าที่ตามที่นายกมอบหมายและทำหน้าที่แทนนายกสมาคมเมื่อนายกสาคมไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่การทำหน้าที่แทนนายกสมาคมให้อุปนายกตามลำดับตำแหน่งเป็นผู้กระทำแทน
13.3 เลขาธิการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการของสมาคม เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ของสมาคม และปฏิบัติตามคำสั่งของนายกสาคมตลอดจนทำหน้าที่เป็นเลขาธิการในการประชุมต่างๆของสมาคม
13.4 เหรัญญิก มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของสมาคม เป็นผู้จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายบัญชีงบดุล และเก็บเอกสารหลักฐานทางการเงินของสมาคมไว้เพื่อตรวจสอบ
13.5 ปฏิคม มีหน้าที่ให้การต้อนรับแขกของสมาคม เป็นหัวหน้าในการจัดเตรียมสถานที่ และจัดเตรียมสถานที่ประชุมต่างๆของสมาคม
13.6 นายทะเบียน มีหน้าที่เกี่ยวกับการทะเบียนต่างๆของสาคม ประสานงานกับเหรัญญิกในการเรียกเก็บเงินค่าลงทะเบียนและค่าบำรุงสาคมจากสมาชิก
13.7 ประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่เผยแพร่กิจการและชื่อเสียงเกียรติคุณของสมาคมให้สมาชิก และบุคคลโดยทั่วไปให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
13.8 จัดหารายได้ มีหน้าที่ระดมทรัพยากรเพื่อการดำเนินกิจการขอสมาคม
13.9 สวัสดิการสมาคม มีหน้าที่ให้การสนับสนุน การปฏิบัติงานต่างๆ และจัดสวัสดิการให้กับสมาชิก ที่ไม่ขัดต่อข้อบังคับของสมาชิก
13.10 วิชาการ มีหน้าที่ทำการวิจัยการศึกษา และสนับสนุนด้านการศึกษาของโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
13.11 กรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมซึ่งคณะกรรมการเห็นสมควรกำหนดให้มีขึ้น โดยมีจำนวนเมื่อรวมกับตำแหน่งกรรมการตามข้างต้นแล้ว จะต้องไม่เกินจำนวนที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้ แต่ถ้าคณะกรรมการมิได้กำหนดตำแหน่งก็ถือว่าเป็นกรรมการกลาง
ข้อที่ 14. คณะกรรมการของสมาคม มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี เมื่อคณะกรรมการดำรงตำแหน่งครบกำหนดตามวาระแล้ว แต่คณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการให้คณะกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระรักษาการไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการชุดใหม่จะได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการส่งมอบงานกันระหว่างคณะกรรมการชุดเก่าและคณะกรรมการชุดใหม่ให้เป็นที่เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการชุดใหม่ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนจากทางราชการ
ข้อที่ 15. ตำแหน่งกรรมการสมาคม ถ้าว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งสมาชิกสามัญคนใดคนหนึ่งที่เห็นสมควรเข้าดำรงตำแหน่ง แทนตำแหน่งที่ว่างลงนั้น และผู้ดำรงตำแหน่งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เท่ากับระยะเวลาที่เหลือตามวาระของผู้ที่ตนแทนเท่านั้น
ข้อที่ 16. กรรมการจะพ้นตำแหน่งซึ่งมิใช่เป็นการออกตามวาระด้วยเหตุผลต่อไปนี้คือ
16.1 ตาย
16.2 ลาออก
16.3 ขาดจากสมาชิกภาพ
16.4 ที่ประชุมใหญ่มีมติให้ออกจากตำแหน่ง
ข้อที่ 17. กรรมการที่ประสงค์จะลาออกจากตำแหน่งกรรมการ ให้ยื่นใบลาออกเป็นลายลักษณ์อักษรต่อหน้าคณะกรรมการและให้พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติให้ออก
ข้อที่ 18. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
18.1 มีอำนาจออกระเบียบต่างๆเพื่อให้สมาชิกปฏิบัติตาม โดยระเบียบปฏิบัตินั้นจะต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับฉบับนี้
18.2 มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ของสมาคม
18.3 มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการได้ แต่คณะกรรมการที่ปรึกษาหรือคณะอนุกรรมการสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกินวาระของคณะกรรมการที่แต่งตั้ง
18.4 มีอำนาจเรียกประชุมใหญ่สามัญประจำปีและประชุมใหญ่วิสามัญ
18.5 มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการในตำแหน่งอื่นๆที่ยังมิได้กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้
18.6 มีอำนาจบริหารกิจการของสมาคม เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตลอดจนมีอำนาจอื่นๆตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหมดรวมทั้งการเงิน และทรัพย์สินทั้งหมดของสมาคม
18.7 มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญตามที่สมาชิกไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมดได้เข้าชื่อร้องขอให้จัดประชุมใหญ่วิสามัญขึ้นภาใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอ
18.8 มีหน้าที่จัดทำเอกสารต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สินและการดำเนินกิจกรรมต่างๆของสมาคมให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถให้สมาชิกตรวจสอบได้เมื่อสมาชิกร้องขอ
18.9 จัดทำบันทึกการประชุมขงสมาคมเก็บไว้เป็นหลักฐานและให้สมาชิกรับทราบ
18.10 มีหน้าที่อื่นๆตามที่ข้อบังคับได้กำหนดไว้
ข้อที่ 19. คณะกรรมการจะต้องจัดประชมกันอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการบริหารกิจการของสมาคม
ข้อที่ 20. การประชุมคณะกรรมการ จะต้องมีกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด จึงถือว่าครบองค์ประชุม มติของที่ประชุมคณะกรรมการถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อที่ 21. ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้านายกสมาคมและอุปนายกสมาคมไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่เข้าประชุมในคราวนั้นเลือกตั้งกันเอง เพื่อให้กรรมการคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในการประชุมคราวนั้น
ข้อบังคับ หมวดที่ 4 การประชุมใหญ่
ข้อที่ 22. การประชุมใหญ่ของสมาคมมี 2 ประเภท คือ
22.1 การประชุมใหญ่สามัญ
22.2 การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อที่ 23. คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกๆปี
ข้อที่ 24. การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ ให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวันเวลา และสถานที่ให้ชัดเจนและจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน รวมทั้งต้องปิดประกาศแจ้งกกำหนดการประชุมใหญ่ไว้ ณ. สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุม
ข้อที่ 25. การประชุมใหญ่วิสามัญอาจมีขึ้นโดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น
ข้อที่ 26. การประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
26.1 แถลงการณ์ดำเนินกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
26.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
26.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดวาระ
26.4 แต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
26.5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อที่ 27. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมแล้วมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้เรียกสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยถือจำนวนสมาชิกที่มาประชุมครั้งนี้ว่าครบองค์ประชุม แต่ต้องไม่เกิน 45 วันนับตั้งแต่วันนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ข้อที่ 28. การลงมติในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติเท่ากันให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อที่ 29. ในการประชุมใหญ่ของสมาคมฯ ถ้านายกสมาคมฯ และอุปนายกของสมาคมฯ ไม่มาประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนี้
22.1 การประชุมใหญ่สามัญ
22.2 การประชุมใหญ่วิสามัญ
ข้อที่ 23. คณะกรรมการจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกๆปี
ข้อที่ 24. การแจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ ให้เลขาธิการเป็นผู้แจ้งกำหนดการประชุมใหญ่ให้สมาชิกได้ทราบและการแจ้งจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร โดยระบุวันเวลา และสถานที่ให้ชัดเจนและจะต้องแจ้งให้สมาชิกได้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน รวมทั้งต้องปิดประกาศแจ้งกกำหนดการประชุมใหญ่ไว้ ณ. สำนักงานของสมาคมเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนถึงกำหนดการประชุม
ข้อที่ 25. การประชุมใหญ่วิสามัญอาจมีขึ้นโดยเหตุที่คณะกรรมการเห็นควรจัดให้มีขึ้น หรือเกิดขึ้นด้วยการเข้าชื่อร่วมกันของสมาชิกไม่น้อย 1 ใน 3 ของสมาชิกสามัญทั้งหมด ทำหนังสือร้องขอต่อคณะกรรมการให้จัดให้มีขึ้น
ข้อที่ 26. การประชุมใหญ่สามัญประจำปีจะต้องมีวาระการประชุมอย่างน้อยดังต่อไปนี้
26.1 แถลงการณ์ดำเนินกิจการที่ผ่านมาในรอบปี
26.2 แถลงบัญชีรายรับ รายจ่ายและบัญชีงบดุลของปีที่ผ่านมาให้สมาชิกรับทราบ
26.3 เลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่เมื่อครบกำหนดวาระ
26.4 แต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชี
26.5 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี)
ข้อที่ 27. ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี หรือการประชุมใหญ่วิสามัญจะต้องมีสมาชิกสามัญเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของสมาชิกสามัญทั้งหมด จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม แต่ถ้าเมื่อถึงกำหนดเวลาประชุมแล้วมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้เรียกสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง โดยถือจำนวนสมาชิกที่มาประชุมครั้งนี้ว่าครบองค์ประชุม แต่ต้องไม่เกิน 45 วันนับตั้งแต่วันนัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี
ข้อที่ 28. การลงมติในที่ประชุมใหญ่ ถ้าข้อบังคับมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ แต่ถ้าคะแนนเสียงที่ลงมติเท่ากันให้ประธานในการประชุมเป็นผู้ชี้ขาด
ข้อที่ 29. ในการประชุมใหญ่ของสมาคมฯ ถ้านายกสมาคมฯ และอุปนายกของสมาคมฯ ไม่มาประชุมหรือไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมใหญ่ทำการเลือกตั้งกรรมการที่มาร่วมประชุมคนใดคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมคราวนี้
ข้อบังคับ หมวดที่ 5 การเงินและทรัพย์สิน
ข้อที่ 30. การเงินและทรัพย์สินทั้งหมดให้อยู่ในความรับผิดชอบขงคณะกรรมการ เงินสดของสมาคมถ้ามีให้ นำฝากไว้ในธนาคารใดธนาคารหนึ่ง ในนามของสมาคม
ข้อที่ 31. การลงนามในตั๋วแลกเงินหรือเช็ค ของสมาคมจะต้องมีรายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน ลงนามร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขาธิการพร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้การได้
ข้อที่ 32. ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ในเวลา 1 วัน ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องได้รับอนุมัติจากมติคณะกรรมการ
ข้อที่ 33. ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันที เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายกหรืออุปนายกสมาคมแล้วแต่กรณี
ข้อที่ 34. เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามระเบียบ การรับหรือจ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อขงนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน ร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อที่ 35. ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อที่ 36. ผู้ตรวจสบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สิน จากคณะกรรมการ และสามารถเชิญคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สินของสมาคมได้
ข้อที่ 37. คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีเมื่อได้รับการร้องขอ
ข้อที่ 31. การลงนามในตั๋วแลกเงินหรือเช็ค ของสมาคมจะต้องมีรายมือชื่อของนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน ลงนามร่วมกับเหรัญญิกหรือเลขาธิการพร้อมกับประทับตราของสมาคมจึงจะถือว่าใช้การได้
ข้อที่ 32. ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินของสมาคมได้ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ในเวลา 1 วัน ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้จะต้องได้รับอนุมัติจากมติคณะกรรมการ
ข้อที่ 33. ให้เหรัญญิกมีอำนาจเก็บรักษาเงินสดของสมาคมได้ไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ถ้าเกินกว่าจำนวนนี้ จะต้องนำฝากธนาคารในบัญชีของสมาคมทันที เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายกหรืออุปนายกสมาคมแล้วแต่กรณี
ข้อที่ 34. เหรัญญิกจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และบัญชีงบดุลให้ถูกต้องตามระเบียบ การรับหรือจ่ายเงินทุกครั้ง จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อขงนายกสมาคมหรือผู้ทำการแทน ร่วมกับเหรัญญิกหรือผู้ทำการแทนพร้อมกับประทับตราของสมาคมทุกครั้ง
ข้อที่ 35. ผู้สอบบัญชีจะต้องมิใช่กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคม และจะต้องเป็นผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต
ข้อที่ 36. ผู้ตรวจสบบัญชีมีอำนาจหน้าที่จะเรียกเก็บเอกสารที่เกี่ยวกับการเงินและทรัพย์สิน จากคณะกรรมการ และสามารถเชิญคณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของสมาคมเพื่อสอบถามเกี่ยวกับบัญชีทรัพย์สินของสมาคมได้
ข้อที่ 37. คณะกรรมการจะต้องให้ความร่วมมือกับผู้สอบบัญชีเมื่อได้รับการร้องขอ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)